วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Paradox ความขัดแย้งบนความลงรอย


Paradox ความขัดแย้งบนความลงรอย



Paradox หรือ ปฎิทรรศน์ คือเหตุการณ์ ประโยคที่เป็นจริงชัดเจน แต่สุดท้ายนำไปสู่ความขัดแย้งในตัวเอง หรือสถานการณ์ที่อยู่นอกความคิดทั่วไป

เนื่องมากจากภาพยนตร์ที่ เรื่อง Inception จิตพิฆาตโลก หนังเทคนิคการสร้างยอดเยี่ยมโดนใจ มาไม่นานทำรายได้เป็นอันดับที่ 25 ของโลก

เรื่องราวเกี่ยวกับการเข้าไปในโลกแห่งความฝัน สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ในความฝัน อีกทั้งการเข้าไปขโมยความคิดในความฝัน

นอนจากการสร้างบ้านเมืองสวยงามในความฝันแล้ว เรื่องราวของสิ่งที่เรียกว่า Paradox ชายผู้หนึ่งสร้าง Paradox ในความฝัน ทำเป็นรูป บันไดวนที่ไม่มีจุดสูงสุด ไม่มีจุดต่ำสุดและใช้มันสู้กับ ศัตรูในความฝันของตน

     บันใดแบบถูกสร้างโดย Lionel Sharples Penrose ชาวอังกฤษ ที่เป็นนักคณิตศาสตร์, นักพันธุศาสตร์, นักจิตวิทยา (คนอะไรเป็นซะเยอะขนาดนี้)
    ในสมัยเด็กบันไดพกนี้ทำผมปั่นป่วนจิตใจอยู่พอดูในการพยายามหาจุดที่สูงที่สุดและจุดที่ต่ำที่สุด คิดไปคิดมาแล้วแทบกรี๊ดด ก็มันไม่มีตรงไหนสูงสุดต่ำสุดขัดแย้งกันเต็มที่
    นอกจากบันไดแล้วก็ยังมีรูปอื่นๆอีกมากมายเช่น









                         กะว่าจะไม่เล่นแล้วไงมุกนี้

นอกจากภาพแล้วเป็นเรื่องราวก็มี

ยกตัวอย่างกันซักหน่อย ด้วยนิทานเล็กๆน้อยๆ
1. ณ เมืองแห่งหนึ่งอันไกลแสนไกล เมืองๆนั้นมีช่างตัดผมฝีมือดีอยู่หนึ่งคน อยู่มาวันหนึ่งช่างตัดผมผู้นั้นก็พูดขึ้นว่า "ข้าคือช่างตัดผมฝีมือดี หน้าที่ของข้าคือตัดผมของทุกคนในเมืองที่ไม่ได้ตัดผมของตนเอง" แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ เขาตัดผมตนเองหรือไม่

ถ้าเขาตัดผมของตนเองแสดงว่า เขาเป็นคนที่ไม่ได้ตัดผมของตนเอง
แต่ถ้าเขาไม่ได้ตัดผมของตนเอง แสดงว่าเขาถูกตนเองตัดผมให้

สิ่งนี้เป็นความขัดแย้งในตัวเองที่เรียกว่า Russell's Paradox ตั้งชื่อตามผู้คิดค้น
ถ้าเขียนเป็นเชิงคณิตศาสตร์ก็ได้เป็น


(ทำตัวให้ดูเหมือนมีความรู้ซะบ้าง)

หลักคือ เซตๆหนึ่งนิยามโดยเซ็ตทุกเซ็ตที่ไม่ได้มีตัวเองเป็นสมาชิก เราจะพบปัญหาคือเซ็ตนั้นมีตนเองเป็นสมาชิกหรือไม่



2.  นักศึกษาผู้หนึ่งพูดขึ้นว่า "นักศึกษามีแต่พูดโกหก" ประโยคนี้เป็นอย่างไง สรุปว่านักศึกษาคนนี้พูดจริงหรือพูดโกหก
ตรงนี้คือ Richard's Paradox ตั้งตามชื่อคนค้นเสนอเป็นคนแรกเช่นกัน

3. ยักษ์กินคนจับเหยื่อได้ และเล่นกับเหยื่อว่าถ้าเหยื่อสามารถทายใจของตนได้ เหยื่อจะถูกปล่อยไป เหยื่อผู้หน้าสงสารก็เลยทายว่า "ท่านคิดว่าท่านจะกินข้า"

4. ชายคนหนึ่งสอบถามนาย และ นาย พูดว่า "นาย พูดแต่เรื่องโกหก" ส่วนนาย ก็พูดว่า "นาย พูดแต่ความจริง"...... ใครพูดความจริง ใครพูดโกหกกันแน่

5. เผ่ากินคน จับเหยื่อได้และเสี่ยงทางกับเหยื่อว่าให้เล่าเรื่องมาเรื่องหนึ่ง ถ้าหัวหน้าเผ่าคิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง ให้จับไปต้ม แต่ถ้าเป็นเรื่องโกหกให้จับไปย่าง เหยื่อจึงเหล่าว่า "เขาจะถูกจับไปย่าง" หัวหน้าเผ่าคิดอยู่นานก็คิดไม่ออกว่าจะต้มหรือ ย่างดี จนในที่สุดก็เอาเหยื่อผู้นั้นไปขังไว้รอวันคิดเสร็จ และเหยื่อผู้นั้นก็ถูกขังอยู่ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน.........

พาราด็อกซ์ ยังมีอีกหลายเรื่องหลายรูปแบบ หลายสาขาวิชาเช่น

 ตรรกศาสตร์
-Free will and omniscience paradox ถ้ามีผู้หยั่งรู้และรู้ว่าจะเกิดอะไรอยู่ก่อนแล้ว (ผู้กำหนดโชคชะตาคน) ก็แสดงว่า เราไม่มีเจตจำนงที่เป็นอิสระ
-Time Paradox (หรือ Grandfather paradox)
กรณีที่มีการย้อนกลับไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีต ที่จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น การย้อนกลับไปฆ่าพ่อแม่ของตนเองก่อนที่ตนจะเกิด ก็จะเกิดข้อขัดแย้งทางเวลาว่า ตัวของเราเกิดมาได้อย่างไร เมื่อพ่อแม่ถูกฆ่าไปแล้ว

เศรฐศาสตร์
-Leontief's paradox ปัญหาว่าทำไม ประเทศที่อุดมด้วยปัจจัยทุนจึงมีการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
-Giffen's paradox ปัญหาว่าทำไมบางสินค้า ยิ่งขึ้นราคา คนยิ่งซื้อ (เช่น ขนมปัง ในยามสงคราม)
-Diamond-water paradox (paradox of value) ปัญหาว่าทำไมน้ำจึงถูกกว่าเพชร ทั้งๆที่คนต้องการน้ำมากกว่า
ทีมาhttp://mathminton.blogspot.com/2010/11/paradox-incpetion.html

2 ความคิดเห็น: